จังหวัดพิษณุโลกนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างการแสดงดนตรีมังคละเภรีศรีสองแคว บูรณาการร่วมกับวงดนตรีออเคสต้า สร้างอัตลักษณ์มุ่งสู่สากล เป็นซอฟต์พาวเวอร์ของจังหวัดพิษณุโลก พร้อมเผยแพร่สู่เด็กและเยาวชนร่วมถึงผู้ที่สนใจมังคละ ทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลกต่อไป
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ที่โรงแรมเมย์ฟลาวเวอร์แกรนด์พิษณุโลก นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย นางสาวนิภาวรรณ กาญจนพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก นายประโยชน์ ลูกพลับ ประธานชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละจังหวัดพิษณุโลก ร่วมชมการแสดงดนตรีมังคละเภรีศรีสองแควที่ผสมผสานเล่นกับวงออเคสต้าถือเป็นครั้งแรกก็ว่าได้
จากนั้นทางผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกได้แถลงข่าว การศึกษาดนตรีมังคละเภรีศรีสองแคว โครงการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตและสืบสานประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาสู่การปฏิบัติ กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาทักษะด้านดนตรีมังคละ จังหวัดพิษณุโลก โดยบูรณาการร่วมกับวงดนตรีออเคสต้า มุ่งสู่สากลเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของจังหวัดพิษณุโลก
นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้กล่าวว่า จังหวัดพิษณุโลกได้อนุมัติโครงการตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัดพิษณุโลก ประจำปีงบประมาณ 2564 และ 2566 เพื่อดำเนินการกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาทักษะด้านดนตรีมังคละจังหวัดพิษณุโลก โดยในปี พ.ศ 2564 ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการดนตรีพื้นบ้านมังคละให้แก่ครูแม่ไก่นำไปถ่ายทอดสู่เยาวชนในสถานศึกษาทั้ง 9 อำเภอ และจัดสรรคู่มืออบรมเชิงปฏิบัติการดนตรีพื้นบ้านมังคละ เครื่องดนตรีมังคละ ตลอดจนชุดแต่งกายนักแสดงมังคละ ทำให้มีการจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ดนตรีคืนบ้างมาหาละอำเภอได้ครบทั้ง 9 อำเภอ
ที่มาที่ไป ที่ทำไมเราถึงเลือกดนตรีมังคละมาเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมรูปแบบหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก ดนตรีมังคละเป็นสิ่งที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของเมืองพิษณุโลกมาตั้งแต่โบราณกาล และเป็นเรื่องที่มีหลักฐานยืนยันกันมาชัดเจนว่าเมืองพิษณุโลกเรามีดนตรีมังคละมามาตั้งแต่สมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 และถ้านับวันเราไม่รักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ก็จะสูญหายไปตามกาลเวลา วันนี้เราได้นำสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองพิษณุโลกหรือว่าเป็นวัฒนธรรมอันโดดเด่นของเมืองพิษณุโลกขึ้นมาแล้วก็สร้าง ความโดดเด่นนี้ให้เป็นนวัตกรรมใหม่ เดิมทีข้างในหลักฐานทางประวัติศาสตร์เรา ได้ยินแต่ดนตรีมังคละที่เป็นกลองทีเป็นปี่และอื่นที่เราพบเห็นบ่อยครั้ง แต่ ครั้งนี้ที่เราได้ประจักษ์เป็นเรื่องของการผสมผสานเรื่องของดนตรีที่เป็นสากลกับดนตรีที่เป็นพื้นบ้าน เพราะฉะนั้นอย่างที่บอกว่ารูปแบบการผสมผสานกัน นี่คือก้าวอีกก้าวหนึ่ง ที่เราก้าวขึ้นมาจากของรูปแบบเดิมที่พยายามจะปรับให้เข้ากับยุคสมัย การถ่ายทอดท่ารำต่างๆที่เราพยายามที่จะฟื้นคืนกลับมาแล้วก็คิดท่ารำที่เป็น สำหรับของบ้านเราเป็นวัฒนธรรมของบ้านเราสอดแทรกเข้าไปในท่ารำต่าง นี่คือซอฟต์พาวเวอร์ที่สำคัญแล้วก็เป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่เราจะเอาไว้สำหรับเป็นหน้าเป็นตาของเมืองพิษณุโลก ถ้าพูดถึงเมืองพิษณุโลก ทุกคนจะนึกถึงพระพุทธชินราชสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ในทางซอฟต์พาวเวอร์ในทางวัฒนธรรมต้องมีเรื่องของมังคละ ใน 76 จังหวัดจะมีสักกี่จังหวัดที่มีซอฟต์พาวเวอร์เป็นของตัวเอง มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเองในลักษณะเช่นนี้ นี่คือพลังสำคัญของเมืองพิษณุโลกที่เราจะต้องรักษาไว้และสืบทอดต่อไป
นางสาวนิภาวรรณ กาญจนพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลกได้กล่าวว่า มังคละเภรีศรีสองแคว เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ.2564 ด้วยการสนับสนุนของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้เริ่มถ่ายทอดและจัดตั้งศูนย์มังคละเภรีศรีสองแคว ทั้ง 9 อำเภอ ถ่ายทอดสู่เด็กและเยาวชน มีการจัดซื้อวัสดุในเรื่องของดนตรีมังคละต่างๆแจกไปทั้ง 9 อำเภอ ต่อมาในปี พ.ศ.2565 เป็นการดำเนินการสานต่อคือการทำกิจกรรมการสืบสานมังคละเภรีศรีสองแคว จัดทำคู่มือมังคละเภรีศรีสองแควขึ้น โดยหนังสือเล่มนี้จะมีความพิเศษตรงที่ว่าเมื่อเปิดเข้าไปก็จะพบกับคิวอาร์โค้ดของดนตรี ของท่ารำต่างๆ ถึงแม้ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถที่จะรำได้ มีทั้งโน้ตดนตรี มีทั้งท่ารำทั้ง 15 ท่า แล้วก็ท่าเชื่อมอีก 2 ท่า ร่วมเป็น 17 ท่ารำ และในปีนี้ได้มีการบูรณาการมังคละพื้นบ้านร่วมกับออเคสต้า เพื่อที่จะอัพมังคละพื้นบ้านของเรา ขึ้นมาสู่สากล ออเคสต้าเองเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญของโลก แล้วก็ได้ทีมงานของออเคสต้า จ.พิษณุโลก มาทำบูรณาการร่วมกันในเรื่องดนตรีว่าจะทำอย่างไรให้มังคละและออเคสต้า สามารถเล่นประสานร่วมกันได้อย่างไพเราะ ก็ใช้เวลาอยู่นานพอสมควรกว่าจะลงตัวจนมาเป็นวันนี้
นอกจากนี้ภายในงานเกษตรรุ่งเรืองของจังหวัดพิษณุโลกที่มีกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2566 นี้ทางวัฒนธรรมได้ได้จัดการประกวดสุดยอดดนตรีมังคละเภรีศรีสองแคว ชิงเงินรางวัลมูลค่ากว่า 48,000 บาท มีรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี และ อายุไม่เกิน 19 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ๆ ได้มีโอกาสแสดงโชว์ ท่านใดที่สนใจสามารถสมัครได้ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลกหลังเก่าชั้น 3 หรือสามารถโทรศัพท์สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0905876838
////////////////////